อกหักเรื่องเล็ก แต่อกเล็กเรื่องใหญ่ ดูจะเป็นคำที่เหมาะกับสาวๆ ในสมัยนี้ที่รักสวยรักงามและรักตัวเองกันมากยิ่งขึ้น หลายคนที่ประสบปัญหาหน้าอกเล็ก ไม่สวย หย่อนคล้อย ไม่เข้ารูป จึงมักจะมองหาคลินิกหรือคุณหมอที่สามารถเสริมนมให้ดูสวยและมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นคุณจะต้องรู้ 5 ข้อก่อนไปทำนมเสริมหน้าอกดังนี้

สารบัญเนื้อหา

1. มองหาคลินิกทำนมที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้

ก่อนทำการทำนมคุณควรเข้าไปปรึกษาข้อมูลของคลิกนิก หรือเข้าไปปรึกษาเองโดยตรงกับทางคลินิกและคุณหมอศัลยกรรมให้เรียบร้อยเสียก่อน แน่นอนว่าปัจจุบันมีคลินิกเสริมความงามให้เลือกมากมาย ฉะนั้นคุณควรเลือกคลินิกที่มีใบรับรองอย่างถูกต้อง มีคุณหมดที่จบเฉพาะทางในเรื่องของการศัลยกรรมหรือการทำน ยิ่งเป็นคุณหมอที่จบศัลยกรรมตกแต่งเฉพาะทางจากต่างประเทศอย่างประเทศเกาหลี หรือได้รับการรับรองจากสถาบันต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ตกแต่งไทย (ThSAPS), เอเชียแปซิฟิก (OSAPS) และระดับนานาชาติ (ISAPS) พร้อมทั้งศึกษาจากปากผู้ที่เคยเสรินมมาแล้วด้วยจะเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณได้

2. ศึกษาข้อมูลก่อนเสริมหน้าอกอย่างละเอียด

แน่นอนว่าก่อนที่เราจะทำการทำนมเราจะต้องรู้จักวิธีการหรือขั้นตอนให้เข้าใจเสียก่อน เพราะคุณคงไม่อยากทำนมทั้งที่ไม่ทราบผลที่จะเกิดกับร่างกาย โดยการเสริมหน้าอกนั้นจะอาจแบ่งจุดในการทำได้ 3 แบบหลักๆ ได้แก่

  1. ผ่าตัดเพื่อทำหน้าตรงตำแหน่งที่บริเวณรักแร้
  2. ผ่าตัดทำนมบริเวณป้านม
  3. อาจเสริมหน้าอกด้วยการศัลยกรรมบริเวณใต้ราวนม

โดยวิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือการผ่านที่บริเวณใต้ราวนมและวางซิลิดคนไว้ที่บริเวณเหนือกล้ามเนื้อด้านในของเต้านมนั่นเอง วิธีการนี้จะช่วยปิดร่องรอยของการทำนมและรอยผ่าตัดได้ดีที่สุด ปัจจุบันวิธีการเสริมหน้าอกมีการพัฒนาและดูไม่น่ากลัวเหมือนกับสมัยก่อนสักเท่าไรนัก ด้วยเทคนิคการผ่าตัดและการวางยาสลบที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จึงสามารถทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้ง่าย

3. เลือกรูปทรงหน้าอกและซิลิโคนที่เหมาะสมกับตัวคุณ

เลือกซิลิโคนที่เหมาะสมกับคุณ รูปร่างหน้าอกผู้หญิงแต่ละคนจะมีเนื้อหน้าอกที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นก่อนทำการทำนมคุณจะต้องเลือกแบบซิลิโคน ซึ่งโดยปกติจะมีหน้าอกให้เลือก 2 ทรงได้แก่ ทรงกลม และ ทรงหยดน้ำ (สำหรับทรงแบบหยดน้ำจะให้ความรู้สึกเหมือนหน้าอกธรรมชาติมากกว่า แต่จะมีราคาแพงกว่าและหากไม่ดูแลตัวเองดีๆ อาจจะเกิดอาการซิลิโคนหมุนจนผิดรูปได้)

สำหรับซิลิโคนแบบผิวเรียบและผิวทรายนั้นจะมีความแตกต่างในเรื่องของผิวทราบสามารถช่วยลดพังผืดได้เล็กน้อย สำหรับการวางซิลิโคนจะแบ่งตามลักษณะหน้าอกและร่างกายของคนไข้เป็นหลัก เช่น การวางซิลิโคนบนกล้ามเนื้อ จะทำให้เต้านมชิดหากันมากขึ้นและยังเจ็บน้อยกว่าอีกด้วย ส่วนการวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้หน้าอกส่วนบนลาดลงดูเป็นธรรมชาติเหมาะกับคนผอมหรือผู้ที่มีเนื้อผิวหนัง

4. วางแผนระยะเวลาพักฟื้นหลังทำนมที่เพียงพอ

หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จแล้ว คุณอาขจะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ผ่าตัดพอสมควร ในช่วงเวลานี้คุณจะต้องพักฟื้นร่างกายให้สามารถซ่อมแซมบาดแผลและสมานเข้ากับซิลิโคนมากที่สุด โดยในวันที่เข้าผ่าตัดทำนมให้คุณเตรียมเสื้อชั้นในแบบเปิดกระดุมด้านหน้าไว้

หลังจากการผ่าตัดทำนม 2- 3 วัน จะเกิดอาการปวดแผลบริเวณรักแร้จนอาจจะไม่สามารถยกแขนเปลี่ยนชุดชั้นในได้ ในช่วงแรกหลังจากการผ่าตัดไม่ควรใส่ชุดชั้นในที่มีเสริมโครง ตงนเลือกซื้อชุดชั้นในไซต์ใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อป้องกันอาการรัดหน้าอก

5. ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำหลังเสริมนมอย่างเคร่งครัด

อาการปวดหลังการผ่าตัดทำนมเสริมหน้าอกอาจเกิดขึ้นได้ หากแต่ภายในหลังจากทำนม ประมาณ 4 – 7 วัน อาการปวดจะเริ่มดีขึ้น ขั้นตอนต่อไปคือการนดนมเพื่อป้องกันการเกิดพังผืดขึ้นนั้นเอง โดยวิธีการนวดที่ถูกต้องนั้นจะมีด้วยกัน 4 ท่าง่าย ๆ

  • เริ่มด้วยการใช้มือทั้งสองข้างดันซิลิโคนเข้ามาตรงกลางหน้าอกให้ชิดเข้าหากันและค้างไว้ประมาณ 10 -15 วินาทีจึงคลายออก
  • ดันหน้าอกจากตรงกลางไปด้านข้างอย่างเบามือและค้างไว้อีกประมาณ 10-15 วินาทีแล้วคลายออก
  • ดันซิลิโคนขึ้นข้างบนให้ได้มากที่สุดและค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที จากนั้นนำมือประสานกันแล้วดันซิลิโคนลงด้านล่างค้างไว้ 10-15 วินาที จึงค่อยคลายออก
  • ทำเป็นประจำประมาณวันละ 5-10 นาที จะช่วยทำให้หน้าอกของคุณได้รูปและไม่เสี่ยงต่อการเป็นพังผืด

สรุปโดยรวมก่อนทำนม

ไม่ว่าจะเป็นการทำนม เสริมหน้าอก หรือการศัลยกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของเรา ย่อมมีเรื่องของความปลอดภัยและค่าใช้จ่ายที่สูง เพื่อแลกกับความสวยงามที่เกิดขึ้นอย่างตรงใจเราที่สุด เราจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ คลินิก หรือสถานที่ที่ให้บริการเฉพาะทางดังกล่าวอย่างละเอียดทุกครั้ง เพื่อความคุ้มค่าและไม่ต้องเจ็บตัวแก้ซ้ำหลายรอบ

ดังนั้นทางนี้ดีที่สุดที่เราแนะนำคือศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน หารีวิว ปรึกษาแพทย์และคลินิกเฉพาะทางโดยต้องการตัดสินใจเสริมนม หรืออาจปรึกษาคนใกล้ตัวหรือครอบครัวล่วงหน้า เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือเพื่อการดูแลหลังศัลยกรรมกับคุณเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *