งานออฟฟิศเป็นงานที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ และใช้เวลาทำงานอยู่หน้าจอนานหลายชั่วโมง นั่งอยู่กับที่ ไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถ จึงทำให้เกิดอาการเมื่อยบริเวณ คอ ไหล่ จากการที่ต้องพิมพ์งานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ปวดเมื่อยนานๆเข้าก็สะสมกลายเป็นออฟฟิศซินโดรมได้

สารบัญเนื้อหา

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?


ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการของการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดจากการนั่งนานเกินไป รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับจากการพิมพ์งาน หรือใช้มือเขียนงานมากเกินไป อาการเหล่านี้พบได้บ่อยในหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ

อาการของออฟฟิศซินโดรม


1. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ ไหล่ บ่า ท้ายทอย หลัง ข้อมือ และมักจะมีอาการปวดเป็นวงกว้าง บางครั้งก็ปวดร้าวไปบริเวณที่ใกล้เคียง ส่วนความรุนแรงก็มีได้ทั้งรุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก
2. รู้สึกชาบริเวณแขนและมือ บางครั้งก็มีอาการหูอื้อ ตาพร่ามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรงร่วมด้วย
3. ชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอ่อนแรง เมื่อมีการกดทับเส้นประสาทนานเกินไป

การรักษาออฟฟิศซินโดรม


1. รักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
2. นวดแผนไทย
3. ฝังเข็ม
4. รับประทานยา

การป้องกันออฟฟิศซินโดรม


1. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการทำงาน โดยการปรับโต๊ะ เก้าอี้ให้สามารถนั่งในท่าที่สบายได้ พร้อมกับตั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา และตั้งความห่างเท่ากับความยาวแขน เพื่อสายตาจะได้ไม่หล้าจนเกินไป
2. ในระหว่างทำงานควรเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และละสายตาจากหน้าจอทุกๆ 30 นาทีด้วย
ออฟฟิศซินโดรมถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่หากปล่อยสะสมจนกลายเป็นเรื้อรังก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และรักษาให้หายขาดยากขึ้น ดังนั้นควรปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสม และเดินออกมาพักสายตาบ้าง เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *