โรคหอบจากอารมณ์ หรือ โรคหายใจเกิน เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจาก อารมณ์และจิตใจ โดยก่อนเกิดโรค ผู้ป่วยมักจะมีปัญหากดดันทางจิตใจ และมีความเครียด ซึ่งมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ แต่หากเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ลักษณะอาการมีดังนี้

อาการโรคหอบจากอารมณ์

  • เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบ หายใจเร็วรวมไปถึงหายใจสั้น
  • หน้ามืด
  • วิงเวียนศรีษะ
  • ใจสั่น
  • ในบางรายอาจพบอาการเกร็ง มือจีบ มีอาการชาบริเวณปาก และนิ้วมือ

สาเหตุหลักการเกิดโรค

โดยส่วนมากแล้ว โรคหอบทางอารมณ์ มักพบในผู้หญิง วัยเรียน รวมไปถึงผู้ใหญ่ตอนต้น โดยก่อนการเกิดอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยมักมีปัญหาทางด้านจิตใจ มีปัญหาในการกดดันจากการเรียน การทำงาน หรือความเครียดที่สะสม วิตกกังวล อย่างเห็นได้ชัด และอาการที่กล่าวมาข้างบนนั้น เกิดจาดการหายใจถี่และหายใจสั้น ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย เกิดการหดตัวลง และมีการลดลงของแคลเซียมที่เป็นตัวทำหน้าที่ออกกฤทธิ์ในเลือด และอาการของโรคนี้ มีความคล้ายคลึงกับอาการหอบทางร่างกาย เช่น โรคหอบหืด ภาวะหัวใจชาดเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอารการเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ และต้องได้รับการซักประวัติ และตรวจจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

วิธีการรักษาเบื้องต้น

โดยวิธีการรักษาเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีอาการจีบเกร็ง ให้ผู้ป่วยหายใจโดยใช้หน้าท้อง หายใจให้ช้าลง โดยจากเดิมมนักใช้ถุงหรือถุงกระดาษรอบทั้งปากและจมูกเพื่อช่วยในการหายใจ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว แต่หากผู้ป่วยได้มีประวัติการเคยพบแพทย์มาแล้ว ว่าอาการหอบนี้ไม่ได้มาจากอาการหอบทางร่างกาย ก็สามารถใช้ถุงครอบในการช่วยหายใจได้ แต่หากหายใจทางหน้าท้องแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพาผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ อาจมีการให้ยากลุ่มยาคลายกังวล จะช่วยให้อาการหายใจหอบเบาลง แต่หากอยู่ในอาการที่ไม่สามารถทานยาได้ แพทย์อาจมีการพิจารณาให้ยาฉีด และรักษาตามอาการต่อไป

ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า โรคหอบทางอามรณ์ ไม่มีอันตรายถึงชีวิต หากคุณเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ว่าอาการหอบ ไม่ได้มาจากอาการหอบทางร่างกาย และหากคุณมีอาการหอบทางอารมณ์บ่อยครั้ง ผู้ป่วยควรพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อบำบัดจิตหรือได้รับการดูแลทางด้านจิตใจ เพราะเนื่องจากหอบทางอารมณ์มีสาเหตุมาจากด้านจิตใจและความตึงเครียด หากมีการพบแพทย์เฉพาะทาง ก็จะสามารถปรับและรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *